วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475


ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6 อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475 ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย
สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง1.สภาพการณ์ทางสังคม สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป
2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444 สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468 สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
3.สภาพการณ์ทางการเมือง สภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้าสู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรงปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วย สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูปมณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตก สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล” นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวมมณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย นอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้ อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 24751.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น
2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น
3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนินของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน
4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด
5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ
การยึดอำนาจการปกครอง1.วิธีการดำเนินงาน กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ 1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง 2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง 3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน 5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น 6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่ ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย
2.ขั้นตอนการยึดอำนาจ คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม การที่คณะราษฎรภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นผลสำเร็จ โดยมิต้องสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใดนั้น เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รงยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมิได้ทรงต่อต้านเพื่อคิดตอบโต้คณะราษฎรด้วยการใช้กำลังทหารที่มีอยู่แต่ประการใด และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรได้เตรียมร่างเอาไว้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นอกจากนี้พระองค์ก็ทรงมีพระราชประสงค์มาแต่เดิมแล้วว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแก่ประชาชนอยู่แล้ว จึงเป็นการสอดคล้องกับแผนการของคณะราษฎร ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าการดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจของพระองค์ รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมี 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคนได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทานกลับคืนมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดินประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงได้เปลี่ยนเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้กำหนดแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3 สมัยคือ 1) สมัยที่ 1 นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน และจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา 2) สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ทำกิจกรรมร่วมกัน คือ ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ผู้แทนราษฎรซึ่งราษฎรได้เลือกขึ้นมาจังหวัดละ 1 นาย ต่อราษฎรจำนวน 100,000 คน ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิกอยู่ในสมัยที่หนึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะยังเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆเขาแทนจนครบ 3) สมัยที่ 3 เมื่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวน กว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น ส่วนสมาชิกประเภทที่สองเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย ซึ่งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารจะเป็นผู้จัดตั้งขึ้นในระยะแรกนั้น ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ซึ่งมีความปรารถนาจะช่วยบ้านเมือง และกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 บางคน ซึ่งสมาชิกทั้ง 70 คน ภายหลังจากการได้รับการแต่งตั้งแล้ว 6 เดือน ก็จะมีฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ทางด้านอำนาจบริหารนั้นในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ซึ่งตำแหน่งบริหารที่สำคัญเอาไว้คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี และเพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศต่อไป คณะราษฎรจึงตกลงเห็นชอบที่จะให้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดแรกที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 มีจำนวนทั้งสิ้น 15 นาย เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบไป ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับรองให้ใช้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2475 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ 1.อำนาจนิติบัญญัติ กำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง แต่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า ถ้าราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ยังมีการศึกษาไม่จบชั้นประถมศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งสขึ้นมาตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2.อำนาจบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 นาย และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย และในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวโดยสรุปในภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและสังคมไทยดังนี้คือ 2.1 อำนาจการปกครองของแผ่นดินซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของพระมหากษัตริย์ก็ตกเป็นของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจตุลาการผ่านทางผู้พิพากษา (ศาล) 2.2 ประชาชนจะได้รับสิทธิในทางการเมือง โดยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ออกกฎหมายและเป็นปากเสียงแทนราษฎร 2.3 ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆได้ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และคนทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน 2.4 ในระยะแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ อำนาจบริหารประเทศจะต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะราษฎร ซึ่งถือว่าเห็นตัวแทนของราษฎรทั้งมวลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงจะมีสิทธิในอำนาจอธิปไตยอย่างเต็มที่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแหลงการปกครอง พ.ศ. 24751.ผลกระทบทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎรได้ดำเนินการปกครองประเทศด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแต่ประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค์ต้องทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ.2477 นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้เป็นเพราะยังมีผู้เห็นว่าการที่คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ยังมิได้เป็นไปตามคำแถลงที่ให้ไว้กับประชาชน นอกจากนี้การที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการข้อ 3 ในอุดมการณ์ 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งกระทำการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปรากฏว่าหลายฝ่ายมองว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสิ้นสุดลงแล้วไม่นาน พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าการบริหารประเทศท่ามกลางความขัดแย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้ จึงประกาศปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันส่งผลให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นำกำลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินสืบไป เมื่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าบริหารประเทศได้ไม่นาน ก็มีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2476 โดยอ้างว่ารัฐบาลได้ทำการหมิ่นประมาทองค์พระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นร่างเค้าโครงเศรษฐกิจอันอื้อฉาวเข้าร่วมในคณะรัฐบาล พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในที่สุดรัฐบาลก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็มีการจับกุมและกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้านกู้เมืองจนดูเหมือนว่าประเทศไทยมิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระยะนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความขัดแย้งสืบต่อกันมาในยุคหลัง ปัญหาการเมืองดังกล่าว ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สถาบันทางการเมืองในยุคหลังๆ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาการทางการเมืองมิได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างธรรมเนียมการปกครองที่ไม่ถูกต้องให้กับนักการเมืองและนักการทหารในยุคหลังต่อๆมา ซึ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องประสบกับความล้มเหลวเพราะการใช้กำลังบีบบังคับอยู่เป็นประจำถึงปัจจุบัน
2.ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจก็พอจะมีอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่เด่นชัดเท่ากับผลกระทบทางการเมืองก็ตาม จากการที่คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองตกลงกันได้แต่เพียงว่าจะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่สามารถจะตกลงอะไรได้มากกว่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงต้องต่อสู้กันต่อไป เพื่อบีบบังคับให้ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นไปตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ที่ครอบครองที่ดินและทุนอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ก็รวมตัวกันต่อต้านกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์
3.ผลกระทบทางด้านสังคม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่ พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2 ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน



การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระบบราชการไทยแบ่งองค์กรออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน ใช้หลักการรวมอำนาจปกครองและหลักการกระจายอำนาจผสมกัน กล่าวคือ ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคใช้หลักรวมอำนาจปกครอง สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกระจายอำนาจปกครอง 4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่ดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางว่า ได้แก่ สำนักรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทบวงซึ่งสังกัดสำนักรัฐมนตรีหรือกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 4.1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง บัญญัติให้มีสำนักรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงและในวรรค 3 ของมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย ภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และไม่อยู่ภายใต้ กระทรวง ทบวง กรมใด ปัจจุบันมีส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ทั้งสิ้น 12 ส่วนราชการ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยส่วนราชการจำนวน 9 แห่ง คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการอีก 3 แห่ง ซึ่งอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นกัน คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น อยู่ใต้บังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักรัฐมนตรีและให้มีรองนายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ 4.1.2 กระทรวง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 บัญญัติกระทรวงมีส่วนราชการภายใน ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และหากกระทรวงใดมีความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนราชการเพื่อจัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ก็สามารถขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ ในกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรับสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด อนุมัติ โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ในกระทรวง มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวง ให้มีรองปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย แต่ถ้าหากกระทรวงใดมีการจัดกลุ่มภารกิจ จะให้มีรองปลัดกระทรวง้พิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจก็ได้ หรือถ้าหากกระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้นก็อาจมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้ตามกระบวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ ในปัจจุบัน เมื่อนับรวมสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะดป็นกระทรวงด้วยแล้ว ประเทศไทยมีกระทรวงรวมทั้งสิ้น 20 กระทรวงด้วยกันคือ (๑) สำนักนายกรัฐมนตรี (๒) กระทรวงกลาโหม (๓) กระทรวงการคลัง (๔) กระทรวงการต่างประเทศ (๕) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (๖) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๗) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (๘) กระทรวงคมนาคม (๙) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๑๐) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๑๑) กระทรวงพลังงาน (๑๒) กระทรวงพาณิชย์ (๑๓) กระทรวงมหาดไทย (๑๔) กระทรวงยุติธรรม (๑๕) กระทรวงแรงงาน (๑๖) กระทรวงวัฒนธรรม (๑๗) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๑๘) กระทรวงศึกษาธิการ (๑๙) กระทรวงสาธารณสุข (๒๐) กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นในหัวข้อ 4.1.1 ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนออำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวงทั้ง 19 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 4.1.2.1 กระทรวงกลาโหม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมนั้น มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมราชองครักษ์ (๔) กองทัพไทย โดยในกองทัพไทยนั้น มาตรา 17 พระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ประกอบด้วย ส่วนราชการดังต่อไปนี้คือ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ 4.1.2.2 กระทรวงการคลัง มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดินภาษีอากรการรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการคลังนั้น มาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมธนารักษ์ (๔) กรมบัญชีกลาง (๕) กรมศุลกากร (๖) กรมสรรพสามิต (๗) กรมสรรพากร (๘) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๙) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (๑๐) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 4.1.2.3 กระทรวงการต่างประเทศ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการกงสุล (๔) กรมพิธีการทูต (๕) กรมยุโรป (๖) กรมวิเทศสหการ (๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (๙) กรมสารนิเทศ (๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ (๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ (๑๒) กรมอาเซียน (๑๓) กรมเอเชียตะวันออก (๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา 4.1.2.4 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้น มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (๔) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว 4.1.2.5 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๔) สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (๕) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ 4.1.2.6 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมชลประทาน (๔) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (๕) กรมประมง (๖) กรมปศุสัตว์ (๗) กรมพัฒนาที่ดิน (๘) กรมวิชาการเกษตร (๙) กรมส่งเสริมการเกษตร (๑๐) กรมส่งเสริมสหกรณ์ (๑๑) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๑๒) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (๑๓) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4.1.2.7 กระทรวงคมนาคม มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงคมนาคมนั้น มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (๔) กรมการขนส่งทางบก (๕) กรมการขนส่งทางอากาศ (๖) กรมทางหลวง (๗) กรมทางหลวงชนบท (๘) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 4.1.2.8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมควบคุมมลพิษ (๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (๕) กรมทรัพยากรธรณี (๖) กรมทรัพยากรน้ำ (๗) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (๘) กรมป่าไม้ (๙) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (๑๐) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (๑๑) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.1.2.9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมไปรษณีย์โทรเลข (๔) กรมอุตุนิยมวิทยา (๕) สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4.1.2.10 กระทรวงพลังงาน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพลังงานนั้น มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (๔) กรมธุรกิจพลังงาน (๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (๖) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 4.1.2.11 กระทรวงพาณิชย์ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพาณิชย์นั้น มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการค้าต่างประเทศ (๔) กรมการค้าภายใน (๕) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (๖) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (๗) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๘) กรมส่งเสริมการส่งออก 4.1.2.12 กระทรวงมหาดไทย มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงมหาดไทยนั้น มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการปกครอง (๔) กรมการพัฒนาชุมชน (๕) กรมที่ดิน (๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง (๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4.1.2.13กระทรวงยุติธรรม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมเสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนการจัดรเบียบภายในกระทรวงยุติธรรมนั้น มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมคุมประพฤติ (๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (๕) กรมบังคับคดี (๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (๗) กรมราชทัณฑ์ (๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (๙) สำนักงานกิจการยุติธรรม (๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 4.1.2.14 กระทรวงแรงงาน มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงแรงงานนั้น มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการจัดหางาน (๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (๖) สำนักงานประกันสังคม 4.1.2.15 กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น มาตรา 37แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการศาสนา (๔) กรมศิลปากร (๕) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 4.1.2.16 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น มาตรา 39แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (๔) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 4.1.2.17 กระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการนั้น มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4.1.2.18 กระทรวงสาธารณสุข มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงสาธารณสุขนั้น มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการแพทย์ (๔) กรมควบคุมโรค (๕) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (๘) กรมสุขภาพจิต (๙) กรมอนามัย (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 4.1.2.19 กระทรวงอุตสาหกรรม มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น มาตรา 45 มีแห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (๖) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (๗) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (๘) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๙) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 4.1.3 กรม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมไว้ว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแห่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม โดยในกรมหนึ่งมีอธิบดีหนึ่งคนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลตามเป้าหมาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะมีรองอธิบดีเพื่อช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้ กรมอาจแบ่งส่วนราชการได้เป็น 2 ประเภทคือ สำนักงานเลขานุการกรมและกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเทากอง โดยสำนักงานเลขานุการกรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรม ส่วนกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือส่วนราชการอื่นนอกเหนือจากนั้น ให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นนอกจากนั้น เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 4.1.4 ส่วนราชการไม่มีสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้มี ส่วนราชการซึ่งไม่อยู่ในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จำนวน 9 แห่งคือ (๑) สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ (๒) สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ (๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๔) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๕) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๖) ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ทางวิชาการและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๗) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๘) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๙) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนราชการทั้งหมดมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 4.1.5 การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน โดยที่สภาพปัญหาของระบบราชการไทยที่ผ่านมาประการหนึ่งคือความล่าช้าในการปฏิบัติงานซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานในภาคราชการว่าไม่โปร่งใส ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจและเกิดความเบื่อหน่ยในการทำงานของภาคราชการ สาเหตุที่ทำให้การบริหารราชการมีความล่าช้านั้นเกิดจากหลายสาเหตุ และสาเหตุประการสำคัญประการหนึ่งคือ งานภาคราชการมีขอบเขตกว้างขวาง และมีขั้นตอนการปฏิบัติงานมาก ซึ่งการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ต้องแก้ไขด้วยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อมิให้ทุกเรื่องไปกระจุกตัวอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาเพียงผู้เดียว กล่าวคือถ้าเรื่องใดที่ต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตำแหน่งใด ก็ต้องให้มีการมอบอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆเหล่านั้นลงไปสู่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องนั้นโดยตรง แต่โดยที่มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เคร่งครัดมาก กล่าวคือได้กำหนดตำแหน่งของบุคคลเจ้าของอำนาจที่จะเป็นผู้มอบอำนาจและตำแหน่งของบุคคลผู้รับมอบอำนาจไว้ตายตัว จึงทำให้การมอบอำนาจดังกล่าวไม่สามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นโดยตรง ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการอนุมัติ หรือการออกใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการบางอย่างซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของอิบดี กรณีเช่นนี้แม้ว่าจะเป็นอำนาจตามกฎหมายแต่ก็มิใช่อำนาจเฉพาะตัว แต่อธิบดีสามารถมอบอำนาจการออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่รองอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าได้ตามมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เท่านั้น จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้นทำให้การมอบอำนาจมีการกระจุกตัวและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ในปัจจุบันกระทรวงต่างๆ ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอืนใดให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างมาตรการในการลดขั้นตอนในการขอรับบริการจากภาครัฐในการที่ประชาชนไม่ต้องลำบากและเสียเวลาในการติดต่อกับราชการ แต่ปรากฏว่ามีงานบริการหลายเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนงานได้ที่ศูนย์บริการร่วม โดยจะต้องส่งกลับไปยังผู้มีอำนาจวินิจแยของแต่ละส่วนราชการเพื่อสั่งการ อนุมัติ หรืออนุญาตก่อน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการแก่ประชาชน ฉะนั้น จึงควรที่จะให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ การอนุญาต การออกคำสั่ง การปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นตามกฎหมาย หรือกฎอื่น สามารถมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมดังกล่าวได้ จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้น จึงมีการแก้ไขในส่วนของหลักการในเรื่องการมอบอำนาจใหม่ โดยไม่จำกัดตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจทำให้สามารถมอบอำนาจลงไปได้ถึงระดับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง การกำหนดให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวมากขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติแยกการมอบอำนาจออกเป็น 2 ลักษณะคือ การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป และการมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ 4.1.5.1 การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ดังนี้ มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดจนการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดำเนินคดี หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบอำนาจหรือที่ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติก็ได้ 4.1.5.2 การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายทีบัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายได้บัญญัติไว้มาตรา 38 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยเฉพาะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 ดังต่อไปนี้ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับอำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ต้องออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมีอำนาจมอบอำนาจให้ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร หรือตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในกรณีมอบอำนาจได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้มอบอำนาจกำหนด ในกรณีตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดรายชื่อกฎหมายที่ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวอาจมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้” 4.1.5.3 วิธีการมอบอำนาจ มาตรา 38 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญัติให้การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ 4.1.5.4 การมอบอำนาจช่วง มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงการมอบอำนาจช่วงไว้ว่าเมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น โดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ในกรณีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมอบอำนาจต่อไปให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดก็ได้ 4.1.6 การรักษาราชการแทน มาตรา 41 ถึงมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดถึงหลักเกณฑ์การรักษาแทนในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือกรณีมีตำแหน่งว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดเข้ามาดำรง....ไว้ สรุปได้ดังนี้คือ (1) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน (2) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นก็ได้) เป็นผู้รักษาราชการแทน (3) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า (เช่น ผู้ตรวจราชการระดับ 10 หรืออธิบดีกรมหนึ่งกรมใด) เป็นผู้รักษาราชการแทน (4) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี (เช่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ) หรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้านายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการฏิบัติราชการในกรมนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า ( ซึ่งอาจจะอยู่ที่กรมอื่น ) เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้ (5) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ อธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดีหรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนได้ (6) ให้ผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผึ่งตนแทน (7) ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งใดมอบอำนาจให้ผุ้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจ (8) ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทน เชิงอรรถ 1. มาตรา 10 วรรค 2 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2. มาตรา 20 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3. มาตรา 21 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 4. มาตรา 22 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 5. มาตรา 23 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 6. มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กร พ.ศ. 2545 7. มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 8. มาตรา 33 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 9. มาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2550, สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กุทชมภาพันธ์ 2551 หน้า 11-13 อ่านต่อ ครั้งที่ 5 การจัดระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน (2) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (3) : วิวัฒนาการของการปกครองส่วนท้องถิ่น : ๑๐๐ ปีแห่งการรอคอย ครั้งที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (4) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 7 รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ครั้งที่ 8 การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครอง (หน้าที่1) ครั้งที่ 8 การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครอง (หน้าที่ 2) ครั้งที่ 9 เครื่องมือในการดำเนินงานของฝ่ายปกครอง ครั้งที่ 10 การควบคุมฝ่ายปกครอง ครั้งที่ 11 กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ ครั้งที่ 12 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ครั้งที่ 13 กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย
ศาลไทย เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อำนาจตุลาการนั้นเป็นสาขาหนึ่งของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ไทยในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล ศาลจึงปฏิบัติการในพระปรมาภิไธย (อังกฤษ: In the Name of the King)
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 197 ถึงมาตรา 228 กำหนดศาลไทยมีสี่ประเภท ดังต่อไปนี้
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง
ศาลทหาร
ประเทศไทยใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) หรือระบบประมวลกฎหมาย ดังนั้น คำตัดสิน คำพิพากษา และคำตัดสินของศาลไทย จึงไม่ได้เป็นทั้งกฎหมายไทยและบ่อเกิดของกฎหมายไทย หากเป็นแต่การปรับใช้กฎหมายเท่านั้น






ศาลรัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: Constitutional Court) เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป




องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้
ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้
ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม




ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
[แก้] สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม




ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองกลาง มีอำนาจตัดสินคดีในเขตกรุงเทพมหานคร และอีก 7 จังหวัดใกล้เคียง หรือคดีที่ยื่นฟ้องที่ศาลปกครองกลาง
ศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันมี 8 แห่ง ที่
ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
ศาลปกครองแพร่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัด น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์
ศาลปกครองสงขลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ตรัง พัทลุง สงขลา และสตูล และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในนราธิวาส ปัตตานี และยะลา
ศาลปกครอง นครราชสีมา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ชัยภูมิและนครราชสีมา และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในบุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในนครพนม มุกดาหาร เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี
ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย
ศาลปกครองระยอง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอำนาจท้องที่กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในชุมพร และระนอง
ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง หรือคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น




ศาลทหาร ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก จุลศักราช 796 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 มีศาลกลาโหม ชำระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชำระความพลเรือนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสมุหพระกลาโหมนั้นมิได้มีเพียงอำนาจหน้าที่เฉพาะการบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมมีทั้งศาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลกลาโหมจึงมีลักษณะเป็นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงในเรื่องการศาลทั้งหมด โดยให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น และรวบรวมศาลซึ่งกระจัดกระจายสังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ เข้ามาสังกัดกระทรวงยุติธรรมจนหมดสิ้นทุกศาล ยกเว้นแต่เพียงศาลทหารเพียงศาลเดียวที่ยังคงให้สังกัดกระทรวงกลาโหมอยู่ตามเดิม ศาลในประเทศไทยจึงแบ่งได้เป็นศาลกระทรวงยุติธรรมกับศาลทหารนับแต่นั้นมา




ประเภทของศาลทหาร
ศาลทหารสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
ศาลทหารในเวลาปกติ
ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
ศาลอาญาศึก
[แก้] คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ศาลทหาร มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาล นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอื่นได้อีกตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติเพิ่มเติม ที่เคยมีมาแล้วเช่น ความผิดฐานกระทำการอันเป็นคอมมูนิตส์ เป็นต้น สำหรับอำนาจในการรับฟ้องคดีของศาลทหารแบ่งได้ดังนี้ ศาลจังหวัดทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศเป็นนายทหารประทวน ศาลมณฑลทหารจะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศตั้งแต่ชั้นประทวนจนถึงชั้นยศสัญญาบัตรแต่ไม่เกินพันเอก ส่วนศาลทหารกรุงเทพจะรับฟ้องได้หมดทุกชั้นยศ นอกจากนี้ชั้นยศจำเลยมีผลต่อการแต่งตั้งองค์คณะตุลาการที่จะพิจารณาคดีด้วย โดยองค์คณะตุลาการที่จะแต่งตั้งนั้นอย่างน้อยต้องมีผู้ที่มียศเท่ากันหรือสูงกว่าจำเลย
[แก้] คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
แยกเป็น 4 ประเภท คือ
ประเภทแรก ได้แก่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
ประเภทที่สอง ได้แก่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
ประเภทที่สาม ได้แก่คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด ซึ่งคงจะมีแต่เฉพาะนักเรียนทหาร
ประเภทที่สี่ ได้แก่คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีประเภทนี้คงจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ ประการแรก คือ ได้มีการฟ้องคดียังศาลทหารแล้ว ประการที่สอง คือ เป็นคดีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในสามประเภทแรก
[แก้] บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
กลุ่มแรก ได้แก่ ทหาร แยกเป็น 2 ประเภท คือ
ทหารประจำการได้แก่ ทหารที่ยึดเอาการรับราชการทหารเป็นอาชีพ ซึ่งมีทั้งทหารประจำการชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน และทหารที่ไม่มียศที่เรียกกันว่า พลทหารอาสาสมัคร
ทหารกองประจำการ คือ ทหารเกณฑ์ หรือทหารที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร
กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักเรียนทหาร หมายถึง นักเรียนทหารที่กำหนดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม เช่น นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนเตรียมทหาร นักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนทหารดังกล่าวหากมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว หากพ้นเกณฑ์อายุก็จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
กลุ่มที่สาม คือบุคคลที่มิได้เป็นทหาร จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
บุคคลที่เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน เป็นลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการโดยมาจำกัดพื้นที่ หรือความผิดอาญาอื่นโดยจำกัดพื้นที่เฉพาะในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร
บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ
บุคคลที่เป็นเชลยศึกหรือชนชาติศัตรูในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม
[แก้] การแต่งตั้งตุลาการ
ตุลาการศาลทหารสูงสุด และตุลาการศาลทหารกลาง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอน
ตุลาการศาลทหารชั้นต้น และศาลประจำหน่วยทหาร พระมหากษัตริย์ทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน
ตุลาการในศาลทหารชั้นต้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลจังหวัดทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลมณฑลทหาร ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง




ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย





'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ' จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้ พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล 2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ 2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์ 2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์ 2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร 2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร 2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร 2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ * คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534) การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 " คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491 พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528 พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482 หน้า.


รัฐประหาร (Coup d'Etat อ่านว่า คู-เด-ต้า) หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐเสมอไป และมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เยี่ยงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร รัฐประหารในประเทศไทย 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ตามที่ตกลงกันไว้) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดู รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 [แก้] แหล่งอ้างอิง รศ.รุจิรา เตชางกูร, รศ.สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์, หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2543 หน้า 130