

การปกครองในสมัยธนบุรีคงดำเนินตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลายสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลางมีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง “สมุหนายก” ( เจ้าพระยาจักรีและพระยายมราชเป็นหัวหน้า) รับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งทหารและพลเรือนในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย “สมุหพระกลาโหม” เจ้าพระยามหาเสนาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ส่วนหน้าที่ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ให้ขึ้นกับพระยาโกษาธิบดีซึ่งว่าการกรมคลังและดูแลหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก
กรมเมือง ( นครบาล )ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองในเขตราชธานี ตลอดจนการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
กรมวัง ( ธรรมมาธิกรณ์ ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการในราชสำนัก กับทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดี
กรมคลัง ( โกษาธิบดี )มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อกับต่างประเทศ
กรนนา ( เกษตราธิการ ) มีหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นา และเสบียงอาหาร
การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองเป็น 2 ประเภท
เมืองพระยามหานคร “หัวเมืองชั้นนอกทรงแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปเป็นเจ้าเมือง จำแนกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นจัตวา ต่อมาขึ้นกับ กรมท่า (กรมพระคลัง)
เมืองประเทศราช โปรดให้ประมุขของเมืองนั้นปกครองกันเองโดยส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ
ในเริ่มแรกของการตั้งอาณาจักรธนบุรีทางทิศเหนือจรดนครสวรรค์ ทางทิศใต้จรดเมืองเพชรบุรีทางทิศตะวันออกจรดเมืองตราด ปราจีนบุรี ทางทิศตะวันตกจดเขตแดนพม่าแถวเมืองกาญจนบุรี เมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งพ.ศ. 2313 จึงสามารถรวบรวมบรรดาหัวเมืองที่เคยขึ้นกับอยุธยา มาอยู่ภายใต้การปกครองกรุงธนบุรีทั้งหมด ทรงปราบชุมนุมต่างๆ มีชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมสุดท้าย ได้โปรดให้จัดการปกครองหัวเมืองเหนือครั้งใหญ่ ทรงโปรดเกล้าให้แม่ทัพนายกองคนสำคัญออกไปปกครองดูแลหัวเมืองเหนือเช่นเมืองพิษณุโลก – เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชเมืองสวรรค์โลก – เจ้าพระยาพิชัยราชาเมืองสุโขทัย – พระท้ายน้ำ เมืองพิชัย – พระยาสีหราชเดโช ( ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น “ พระยาพิชัย “ ผู้คนตั้งสมญาต่อท้าย
ว่า “ พระยาพิชัยดาบหัก “ ) เมืองนครสวรรค์ – เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร
การปกครองเมืองเหนือพ.ศ.2313นับเป็นความสำคัญเพราะเวลานั้นพม่ายึดครองเมืองเชียงใหม่ และมีกำลังเข็มแข็ง การดูแลหัวเมืองเหนือเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการปกป้องและการขยายราชอาณาจักรปลายรัชกาลอาณาจักรขยายไปกว่าเดิมเป็นอันมากมีเนื้อที่มากกว่าปัจจุบันเป็นเท่าตัว ทางทิศเหนือได้หัวเมืองล้านนา ตลอดถึงเมืองเชียงแสน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้หัวเมืองลาวตลอดจนถึงนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวนและนครหลวงพระบาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ตีหัวเมืองเขมรตลอดจนถึงพุธไธมาศ ทางทิศใต้ตลอดถึงเมืองไทรบุรีและตรังกานู ทิศตะวันตกแผ่ไปถึงเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีทะลุออกมหาสมุทรอินเดีย

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ความสัมพันธ์กับจีน ภายหลังพ.ศ.2310 ความสัมพันธ์ไทยจีนก็หยุดชงักลง ได้เริ่มใหม่เป็นทางการ พ.ศ. 2320 เมื่อจีนยอมรับรองฑูตไทยที่ไปจากรุงธนบุรีเพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ มีการติดต่อการค้าขาย ระหว่างจีนและกรุงธนบุรีเป็นปกติ
ความสัมพันธ์กับพม่า ปัญหาสำคัญที่สุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินภายหลังการกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา คือการป้องกันราชอาณาจักร พม่าพยายามส่งกำลังมาปราบปรามหลายครั้งดังนี้
ปีที่ทำสงคราม
เหตุการณ์ผลของสงคราม
2310
พม่าให้พระยาทะวายยกทัพมาตีที่ตำบลบางกุ้ง จ.สมุทรสงคราม
พม่าพ่ายต้องถอยทัพกลับทางทวาย ไทยยึดได้เรือรบและเสบียงอาหารของพม่า
2313
กองทัพพม่าจากเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองสวรรคโลก พิษณุโลก
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1
พระยาสุรสีห์ เจ้าเมืองพิษณุโลก พระยาสีห-ราชเดโช เจ้าเมืองพิชัย
พระยาท้ายน้ำเจ้าเมืองสุโขทัยช่วยกันขับไล่พม่าได้สำเร็จ
ไทยไม่สามารถยึดคืนจากพม่าได้
2315
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1
พระยาสุรสีห์และพระยาสีหราชเดโชชัย ช่วยกันขับไล่พม่าออกไปได้
2316
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
ไทยสามารถขับไล่พม่ากลับไปได้ ในสงครามครั้งนี้เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก
2317
พม่ายกทัพตามชาวมอญที่อพยบเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารถึงตำบลบางแก้ว เมืองราชบุรีไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
กองทัพพม่าถูกล้อมจนยอมแพ้ ไทยสามารถยึดเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
2318
พม่าให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตีหัวเมืองทางเหนือของไทย รบกับพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ที่พิษณุโลก
อะแซหวุ่นกี้ยึดได้เมืองพิษณุโลก ในที่สุดก็ถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินตีแตกพ่ายไป
2319
กองทัพพม่าจากเชียงแสนยกมาตีเมืองเชียงใหม่
ไทยโจมตีพม่าแตกพ่ายไป มีผลทำให้เมืองเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง
การที่พระเจ้าตากสินทรงสามารถต่อต้านการรุกรานของกองทัพพม่าตลอดรัชกาล ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไทยต่อไป
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา สมัยธนบุรีไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากล้านาได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาล้านนาไว้ได้ เมืองธนบุรีถอยทัพ พม่าก็เข่ายึดครองอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างเพราะยากแก่การป้องกันให้พ้นจากการรุกรานของพม่า
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านช้าง สมัยธนบุรีขยายการครอบครองไปยังล้านช้างได้สำเร็จ พ.ศ.2320 ไทยตีเมืองจำปาศักด์ เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ สงครามครั้งนี้พระยาจักรีได้รับพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาพ.ศ. 2321สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เป็นหัวเมืองประเทศราชของไทยได้ และได้อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฎิมากร ( พระแก้วมรกต ) และพระบางกลับมายังธนบุรีด้วย
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร สมัยธนบุรี เขมรไม่ยอมรับอำนาจไทยไทยส่งกำลังไปปราบปรามพ.ศ.2313 พ.ศ.2314 เขมรหันไปพิ่งญวนป้องกันอำนาจไทยแต่ญวนไม่สามารถไม่สามารถช่วยได้เพราะเกิดกษฎไตเซิน เขรแตกแยกเป็น 2 ฝ่ายที่ยอมรับอำนาจไทย และญวน แย่งชิงอำนาจกันเอง ไทยยกกำลังไป แต่ธนบุรีเกิดความวุ่นวาย ก่อนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทยจึงถอนกำลังกลับ
ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู ตลอดเวลาในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงไม่มีเวลาที่จะปราบปราบหัวเมืองมลายู หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตีนครศรีธรรมราชตีเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ทรงหยั่งท่าที่โดยให้เจ้านครศรีธรรมราชไปยืมเงินเมืองไทรบุรี และปัตตานีเพื่อซื้อศัสตราวุธ ทั้งสองเมืองไม่ยอม แต้พระเจ้าตากมิได้ทรงยกกองทัพไปตีหัวเมืองมลายูแต่ประการใด ความสัมพันธ์กับตะวันตก สมัยธนบุรีชาวอังกฤษมิได้เข้ามาติดต่อค้าขายเหมือนอยุธยา ยกเว้นพ่อค้าอังกฤษที่ปีนังชื่อ ร้อยเอกฟรานซิส ไลท์ ( Francis Light ) ไทยเรียกว่า ”กปิตันเหล็ก”ไทยให้เป็นผู้จัดซื้ออาวุธให้ไทยใช้ต่อสู้พม่าในสมัยธนบุรี ผู้นี้ได้รับยศเป็น ”พระยาราชกปิตัน”
ความสัมพันธ์กับพม่า ปัญหาสำคัญที่สุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินภายหลังการกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา คือการป้องกันราชอาณาจักร พม่าพยายามส่งกำลังมาปราบปรามหลายครั้งดังนี้
ปีที่ทำสงคราม
เหตุการณ์ผลของสงคราม
2310
พม่าให้พระยาทะวายยกทัพมาตีที่ตำบลบางกุ้ง จ.สมุทรสงคราม
พม่าพ่ายต้องถอยทัพกลับทางทวาย ไทยยึดได้เรือรบและเสบียงอาหารของพม่า
2313
กองทัพพม่าจากเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองสวรรคโลก พิษณุโลก
ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1
พระยาสุรสีห์ เจ้าเมืองพิษณุโลก พระยาสีห-ราชเดโช เจ้าเมืองพิชัย
พระยาท้ายน้ำเจ้าเมืองสุโขทัยช่วยกันขับไล่พม่าได้สำเร็จ
ไทยไม่สามารถยึดคืนจากพม่าได้
2315
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1
พระยาสุรสีห์และพระยาสีหราชเดโชชัย ช่วยกันขับไล่พม่าออกไปได้
2316
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
ไทยสามารถขับไล่พม่ากลับไปได้ ในสงครามครั้งนี้เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก
2317
พม่ายกทัพตามชาวมอญที่อพยบเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารถึงตำบลบางแก้ว เมืองราชบุรีไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
กองทัพพม่าถูกล้อมจนยอมแพ้ ไทยสามารถยึดเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
2318
พม่าให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตีหัวเมืองทางเหนือของไทย รบกับพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ที่พิษณุโลก
อะแซหวุ่นกี้ยึดได้เมืองพิษณุโลก ในที่สุดก็ถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินตีแตกพ่ายไป
2319
กองทัพพม่าจากเชียงแสนยกมาตีเมืองเชียงใหม่
ไทยโจมตีพม่าแตกพ่ายไป มีผลทำให้เมืองเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง
การที่พระเจ้าตากสินทรงสามารถต่อต้านการรุกรานของกองทัพพม่าตลอดรัชกาล ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไทยต่อไป
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา สมัยธนบุรีไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากล้านาได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาล้านนาไว้ได้ เมืองธนบุรีถอยทัพ พม่าก็เข่ายึดครองอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างเพราะยากแก่การป้องกันให้พ้นจากการรุกรานของพม่า
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านช้าง สมัยธนบุรีขยายการครอบครองไปยังล้านช้างได้สำเร็จ พ.ศ.2320 ไทยตีเมืองจำปาศักด์ เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ สงครามครั้งนี้พระยาจักรีได้รับพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาพ.ศ. 2321สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เป็นหัวเมืองประเทศราชของไทยได้ และได้อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฎิมากร ( พระแก้วมรกต ) และพระบางกลับมายังธนบุรีด้วย
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร สมัยธนบุรี เขมรไม่ยอมรับอำนาจไทยไทยส่งกำลังไปปราบปรามพ.ศ.2313 พ.ศ.2314 เขมรหันไปพิ่งญวนป้องกันอำนาจไทยแต่ญวนไม่สามารถไม่สามารถช่วยได้เพราะเกิดกษฎไตเซิน เขรแตกแยกเป็น 2 ฝ่ายที่ยอมรับอำนาจไทย และญวน แย่งชิงอำนาจกันเอง ไทยยกกำลังไป แต่ธนบุรีเกิดความวุ่นวาย ก่อนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทยจึงถอนกำลังกลับ
ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู ตลอดเวลาในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงไม่มีเวลาที่จะปราบปราบหัวเมืองมลายู หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตีนครศรีธรรมราชตีเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ทรงหยั่งท่าที่โดยให้เจ้านครศรีธรรมราชไปยืมเงินเมืองไทรบุรี และปัตตานีเพื่อซื้อศัสตราวุธ ทั้งสองเมืองไม่ยอม แต้พระเจ้าตากมิได้ทรงยกกองทัพไปตีหัวเมืองมลายูแต่ประการใด ความสัมพันธ์กับตะวันตก สมัยธนบุรีชาวอังกฤษมิได้เข้ามาติดต่อค้าขายเหมือนอยุธยา ยกเว้นพ่อค้าอังกฤษที่ปีนังชื่อ ร้อยเอกฟรานซิส ไลท์ ( Francis Light ) ไทยเรียกว่า ”กปิตันเหล็ก”ไทยให้เป็นผู้จัดซื้ออาวุธให้ไทยใช้ต่อสู้พม่าในสมัยธนบุรี ผู้นี้ได้รับยศเป็น ”พระยาราชกปิตัน”

เศรษฐกิจสมัยธนบุรี
หลังจาการกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี งานที่ทรงจัดทำต่อไปคือการรวบรวมผู้คนให้มา
อยู่รวมกันเพื่อเป็นกำลังของชาติต่อไป การที่มีคนมารวมอยู่มากขึ้นก่อให้เกิดปัญหา ทรงได้แก้ไขดังนี้
1. ในระยะแรกของการครองราชย์ เป็นภาวะที่พ้นจากการศึกสงคราม ราษฎรยังไม่ได้ทำนา ทรงแก้ไขการขาดแคลนเฉพาะหน้าด้วยการใช้ราชทรัพย์ส่วยพระองค์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าจีน เพื่อแจกจ่าย
ให้แก่บรรดาข้าราชการ ทหาร และพลเรือนทั้งไทยและจีนคนละ 1 ถังต่อ 20 วัน นอกจากนี้ทรงแจกจ่ายอาหารให้พลเรือนที่อดอยากด้วย *
2. ทรงโปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปีละ 2 ครั้ง ( เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนข้าว)ทรงให้ข้าราชการและพลเรือนทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาล เพื่อปราบการระบาดของหนูในยุ้งฉาง
3. ทรงใช้การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ ส่งสำเภาหลวงออกไปทำการค้ากับนานาประเทศทางตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางตะวันตกไปถึงอินเดียเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับท้องพระคลัง รวมทั้งมีชาวต่าง -ประเทศมาติดต่อค้าขายเป็นอันมาก เช่น จีน ชวา แขกมัวร์ ( ชาวอาหรับ )
4. ทรงปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ปล้นสะดมในฤดูที่เก็บเกี่ยว สมเด็จพระเจ้าตากทรงดำเนินการ
แก้ไขโดยจัดกองทหารออกลาดตระเวนตรวจตราและใช้มาตราการขั้นเด็ดขาดแก่ผู้ประพฤติตนเป็นโจรผู้ร้าย
5. การหารายได้จากภาษีอากร ส่วย และเครื่องบรรณาการต่างๆจากหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช
6. เพิ่มพูนรายได้แผ่นดินด้วยการเปิดโอกาสให้มีการประมูลผูกขาดเก็บค่าภาคหลวง ขุดทรัพย์ที่มีคนฝังเอาไว้ในกรุงศรีอยุธยา ที่ฝังไว้ในขณะหลบหนีพม่า
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาดหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ มอรซิเยอร์ เลอบอง ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2314 จดบันทึกไว้ในช่วงพ.ศ. 2318ดังนี้
“ จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่”*
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยเรื่องนี้เคยทรงตรัสว่า
“บุทคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุทคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น